ในการออกแบบอุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้ เราจะพิจารณาติดตั้ง Smoke Detector หรือ Heat Detector อย่างไร ?
...ต้องเริ่มจากความเข้าใจจากพัฒนาการของการเกิดไฟกันก่อนนะครับ...
...ต้องเริ่มจากความเข้าใจจากพัฒนาการของการเกิดไฟกันก่อนนะครับ...
พัฒนาการของเพลิงไหม้
• การเกิดเพลิงไหม้เริ่มจากจุดเล็กๆ ก่อนและขยายใหญ่ขึ้น มีความร้อนสูงขึ้น และลุกลามออกไปเรื่อยๆ การศึกษาการเกิดเพลิงไหม้จะทำให้ทราบลักษณะของการเกิดเพลิงไหม้ เป็นจุดเริ่มต้นของการนำความรู้ไปใช้ประกอบการออกแบบ เลือกใช้ และติดตั้งระบบ
• การเกิดเพลิงไหม้ (แบบที่เป็นเชื้อเพลิงปกติ ที่ไม่ใช้น้ำมัน, แก๊ส หรือสารไวไฟชนิดอื่นๆ)
สามารถแบ่งออกเป็นระบบต่างๆ 4 ระยะ คือ
1. ระยะเริ่มต้น (Incipient Stage) เป็นระยะเมื่อเริ่มเกิดเพลิงไหม้ จะเริ่มด้วยการสลายตัวของวัสดุเนื่องจากความร้อน ระยะนี้จะเกิดเป็นอนุภาคขนาดเล็กๆ จำนวนมาก อนุภาคอาจมีขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน (หนึ่งไมครอนมีขนาดเท่ากับเศษหนึ่งส่วนล้านเมตร) ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อนุภาคเหล่านี้ทีทั้งอนุภาคที่เป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าช ระยะนี้จึงไม่สามารถทราบได้ว่าเกิดเพลิงไหม้
หากจะต้องการจับสัญญาณเพลิงไหม้ได้ในระยะนี้ต้องใช้ระบบสุ่มอากาศ ที่เรียกว่า Aspirating Smoke Detector (ASD) หรือVery Early Smoke Detection Apparatus (VESDA) System โดยจะดูดอากาศมาประมวลผล
2. ระยะเกิดควัน (Visible Smoke) ระยะเริ่มต้น หากการเกิดเผาไหม้ยังคงดำเนินต่อไป จะเกิดควันที่สามารถมองเห็นได้ อนุภาคที่เกิดจากความร้อนจะมีจำนวนมากขึ้นจนทำให้สามารถมองเห็นได้ ระยะนี้ยังไม่มีความร้อนมากพอที่จะทำให้ลุกไหม้ดำเนินต่อไปได้ การตรวจจับเพลิงไหม้ที่ดีจึงควรตรวจจับให้ได้ในระยะนี้
หากจะต้องการจับสัญญาณเพลิงไหม้ได้ในระยะนี้ต้องใช้อุปกรณ์ตรวจจับชนิดตรวจจับควัน (Smoke Detector)
ซึ่งในมาตราฐาน วสท. กำหนดไว้ว่า พื้นที่ที่ช่วยชีวิต เช่น ห้องนอน ห้องสำคัญๆ และทางเดินสำหรับอพยพ ต้องใช้อุปกรณ์ตรวจจับควันเท่านั้น แต่พื้นที่อื่นๆที่พิจารณาแล้วว่าเป็นแค่พื้นที่ป้งอกันทรัพย์สิน หมายถึงห้องทั่วไป ก็ไม่จำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับแบบควันก็ได้ ให้ติดแบบตรวจจับความร้อนก็ได้
Heat detector ราคาถูกกว่า Smoke Detector ถึง 3 เท่า
3. ระยะเกิดเปลวเพลิง (Flaming Fire) เมื่อพัฒนาจนมีความร้อนมากพอ อนุภาคที่ร้อนมากจะลุกติดไฟและเกิดเป็นเปลวเพลิงหรือเปลวไฟ เปลวไฟนี้จะมีพลังงานมากพอที่จะจุดติดอนุภาคอื่นๆ ให้ลุกติดไฟต่อไปได้ เรียกว่า เกิดปฎิกริยาลูกโซ่ ความร้อนจะสูงขึ้น และการเกิดเพลิงไหม้จะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ตราบเท่าที่ปัจจัยการเกิดเพลิงไหม้ยังครบ (หมายถึง เชื้อเพลิง ความร้อน และออกซิเจน)
หากจะต้องการจับสัญญาณเพลิงไหม้ได้ในระยะนี้ต้องใช้อุปกรณ์ตรวจจับชนิดตรวจจับความร้อน (Heat Detector)
แต่สำหรับเชื้อเพลิงไวไฟ เช่น น้ำมัน หรือ ก๊าซ จะไม่มีปรากฎการตามข้อที่ 1-2 หากจะต้องการจับสัญญาณเพลิงไหม้สำหรับเชื้อเพลิงแบบนี้ต้องใช้อุปกรณ์ตรวจจับชนิดตรวจจับเปลวเพลิง (UV/IR Detector)
4. ระยะความร้อนสูง (Intense Heat) เมื่อการเกิดเพลิงไหม้ขยายใหญ่ขึ้น ปริมาณความร้อนที่เกิดก็จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ระยะนี้เป็นระยะที่ก่อให้เกิดปรากฎการณ์
• ปรากฏการณ์ Flashover
เป็นปรากฏการณ์ของการลุกไหม้ที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงมาก โดยจะเกิดจากการลุกไหม้ในพื้นที่ที่มีการปิดล้อม (Enclosed Space) เช่น ห้อง ความร้อนที่เกิดในห้องจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยจนถึงจุดทำให้วัตถุแทบทุกอย่างที่อยู่ในห้องเกิดการลุกติดไฟขึ้น โดยวัตถุเหล่านั้นจะลุกติดไฟและเริ่มลุกไหม้พร้อมๆ กันและไฟก็จะลุกไหม้ทั่วทั้งห้อง
• ปรากฏการณ์ Back Draft หรือ การระเบิดควัน (Smoke Explosion)
เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากการเกิดเพลิงไหม้ในพื้นที่ปิดล้อม ปฏิกิริยาการเผาไหม้ได้ทำให้ปริมาณออกซิเจนที่อยู่ในห้องอยู่ในระดับต่ำและทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนน๊อกไซด์ (CO) และความร้อน โดยที่ก๊าซคาร์บอนมอนน๊อกไซด์เป็นก๊าซไวไฟ การเผาไหม้ในลักษณะนี้จะทำให้องค์ประกอบในการเกิดเพลิงไหม้ในสามเหลี่ยมของไฟ 2องค์ประกอบ ซึ่งคือ ความร้อนจากการเผาไหม้ และเชื้อเพลิง คือ ก๊าซคาร์บอนมอนน๊อกไซด์มีปริมาณที่สูงมาก ถ้าหากมีการเติมอากาศเข้าไปในการเผาไหม้ที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้ ก๊าซคาร์บอนมอนน๊อกไซด์จะลุกไหม้อย่างรวดเร็ว และทำให้เกิดการระเบิดขึ้น การควบคุมไม่ให้เกิดปรากฏการณ์ Backdraft ต้องใช้วิธีการที่เหมาะสม และเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ดับเพลิงที่มีความชำนาญในการดับเพลิง
• การเกิดเพลิงไหม้เริ่มจากจุดเล็กๆ ก่อนและขยายใหญ่ขึ้น มีความร้อนสูงขึ้น และลุกลามออกไปเรื่อยๆ การศึกษาการเกิดเพลิงไหม้จะทำให้ทราบลักษณะของการเกิดเพลิงไหม้ เป็นจุดเริ่มต้นของการนำความรู้ไปใช้ประกอบการออกแบบ เลือกใช้ และติดตั้งระบบ
• การเกิดเพลิงไหม้ (แบบที่เป็นเชื้อเพลิงปกติ ที่ไม่ใช้น้ำมัน, แก๊ส หรือสารไวไฟชนิดอื่นๆ)
สามารถแบ่งออกเป็นระบบต่างๆ 4 ระยะ คือ
1. ระยะเริ่มต้น (Incipient Stage) เป็นระยะเมื่อเริ่มเกิดเพลิงไหม้ จะเริ่มด้วยการสลายตัวของวัสดุเนื่องจากความร้อน ระยะนี้จะเกิดเป็นอนุภาคขนาดเล็กๆ จำนวนมาก อนุภาคอาจมีขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน (หนึ่งไมครอนมีขนาดเท่ากับเศษหนึ่งส่วนล้านเมตร) ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อนุภาคเหล่านี้ทีทั้งอนุภาคที่เป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าช ระยะนี้จึงไม่สามารถทราบได้ว่าเกิดเพลิงไหม้
หากจะต้องการจับสัญญาณเพลิงไหม้ได้ในระยะนี้ต้องใช้ระบบสุ่มอากาศ ที่เรียกว่า Aspirating Smoke Detector (ASD) หรือVery Early Smoke Detection Apparatus (VESDA) System โดยจะดูดอากาศมาประมวลผล
2. ระยะเกิดควัน (Visible Smoke) ระยะเริ่มต้น หากการเกิดเผาไหม้ยังคงดำเนินต่อไป จะเกิดควันที่สามารถมองเห็นได้ อนุภาคที่เกิดจากความร้อนจะมีจำนวนมากขึ้นจนทำให้สามารถมองเห็นได้ ระยะนี้ยังไม่มีความร้อนมากพอที่จะทำให้ลุกไหม้ดำเนินต่อไปได้ การตรวจจับเพลิงไหม้ที่ดีจึงควรตรวจจับให้ได้ในระยะนี้
หากจะต้องการจับสัญญาณเพลิงไหม้ได้ในระยะนี้ต้องใช้อุปกรณ์ตรวจจับชนิดตรวจจับควัน (Smoke Detector)
ซึ่งในมาตราฐาน วสท. กำหนดไว้ว่า พื้นที่ที่ช่วยชีวิต เช่น ห้องนอน ห้องสำคัญๆ และทางเดินสำหรับอพยพ ต้องใช้อุปกรณ์ตรวจจับควันเท่านั้น แต่พื้นที่อื่นๆที่พิจารณาแล้วว่าเป็นแค่พื้นที่ป้งอกันทรัพย์สิน หมายถึงห้องทั่วไป ก็ไม่จำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับแบบควันก็ได้ ให้ติดแบบตรวจจับความร้อนก็ได้
Heat detector ราคาถูกกว่า Smoke Detector ถึง 3 เท่า
3. ระยะเกิดเปลวเพลิง (Flaming Fire) เมื่อพัฒนาจนมีความร้อนมากพอ อนุภาคที่ร้อนมากจะลุกติดไฟและเกิดเป็นเปลวเพลิงหรือเปลวไฟ เปลวไฟนี้จะมีพลังงานมากพอที่จะจุดติดอนุภาคอื่นๆ ให้ลุกติดไฟต่อไปได้ เรียกว่า เกิดปฎิกริยาลูกโซ่ ความร้อนจะสูงขึ้น และการเกิดเพลิงไหม้จะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ตราบเท่าที่ปัจจัยการเกิดเพลิงไหม้ยังครบ (หมายถึง เชื้อเพลิง ความร้อน และออกซิเจน)
หากจะต้องการจับสัญญาณเพลิงไหม้ได้ในระยะนี้ต้องใช้อุปกรณ์ตรวจจับชนิดตรวจจับความร้อน (Heat Detector)
แต่สำหรับเชื้อเพลิงไวไฟ เช่น น้ำมัน หรือ ก๊าซ จะไม่มีปรากฎการตามข้อที่ 1-2 หากจะต้องการจับสัญญาณเพลิงไหม้สำหรับเชื้อเพลิงแบบนี้ต้องใช้อุปกรณ์ตรวจจับชนิดตรวจจับเปลวเพลิง (UV/IR Detector)
4. ระยะความร้อนสูง (Intense Heat) เมื่อการเกิดเพลิงไหม้ขยายใหญ่ขึ้น ปริมาณความร้อนที่เกิดก็จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ระยะนี้เป็นระยะที่ก่อให้เกิดปรากฎการณ์
• ปรากฏการณ์ Flashover
เป็นปรากฏการณ์ของการลุกไหม้ที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงมาก โดยจะเกิดจากการลุกไหม้ในพื้นที่ที่มีการปิดล้อม (Enclosed Space) เช่น ห้อง ความร้อนที่เกิดในห้องจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยจนถึงจุดทำให้วัตถุแทบทุกอย่างที่อยู่ในห้องเกิดการลุกติดไฟขึ้น โดยวัตถุเหล่านั้นจะลุกติดไฟและเริ่มลุกไหม้พร้อมๆ กันและไฟก็จะลุกไหม้ทั่วทั้งห้อง
• ปรากฏการณ์ Back Draft หรือ การระเบิดควัน (Smoke Explosion)
เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากการเกิดเพลิงไหม้ในพื้นที่ปิดล้อม ปฏิกิริยาการเผาไหม้ได้ทำให้ปริมาณออกซิเจนที่อยู่ในห้องอยู่ในระดับต่ำและทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนน๊อกไซด์ (CO) และความร้อน โดยที่ก๊าซคาร์บอนมอนน๊อกไซด์เป็นก๊าซไวไฟ การเผาไหม้ในลักษณะนี้จะทำให้องค์ประกอบในการเกิดเพลิงไหม้ในสามเหลี่ยมของไฟ 2องค์ประกอบ ซึ่งคือ ความร้อนจากการเผาไหม้ และเชื้อเพลิง คือ ก๊าซคาร์บอนมอนน๊อกไซด์มีปริมาณที่สูงมาก ถ้าหากมีการเติมอากาศเข้าไปในการเผาไหม้ที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้ ก๊าซคาร์บอนมอนน๊อกไซด์จะลุกไหม้อย่างรวดเร็ว และทำให้เกิดการระเบิดขึ้น การควบคุมไม่ให้เกิดปรากฏการณ์ Backdraft ต้องใช้วิธีการที่เหมาะสม และเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ดับเพลิงที่มีความชำนาญในการดับเพลิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น