มารู้จักมาตราฐานเกี่ยวกันงานไฟฟ้ากันเถอะ
ปกติมาตราฐานในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า นั้นมีอยู่หลากหลายมาตราฐาน แต่พอจะแบ่งออกได้เป็น 2 อย่างคือ
1) มาตราฐานอุปกรณ์ไฟฟ้า
2) มาตราฐานการติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้า
ซึ่งแต่ละมาตราฐานยังแบ่งออกได้อีก 3 อย่าง คือ
- มาตราฐานสากล
- มาตราฐานประจำชาติ
- มาตราฐานของแต่ละหน่วยงาน
1) มาตราฐานสากล เช่น ISO, IEC
- ISO (International Organization for Standardization) : เป็นมาตราฐานทั่วไปทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (ยกเว้นทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์) เช่น ISO9000, 9001, 9002 (เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์สินค้า), ISO14000 (เกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม)
- IEC (International Electrotechnical Commission) : เป็นองค์กรระหว่างประทเศที่ร่างมาตราฐานทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และ โดยขณะนี้ IEC มีประเทศสมาชิกเกือบทุกประเทศในโลกแล้ว ซึ่งรวมถึงไทยด้วย
ข้อดีของการมีมาตรฐานร่วมกันคือ จะทำให้การออกแบบ การผลิต การใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในทางการค้า และขจัดการกีดกันทางการค้าที่มาในรูปแบบของข้อกำหนดมาตรฐานต่างๆ สำหรับประเทศไทย หน่วยงาน สมอ (TISI ) เข้าร่วมเป็นสมาชิกประเภท Full member กับ IEC เมื่อปี พ.ศ 2534
2) มาตราฐานประจำชาติ
- ประเทศอุตสหกรรมที่สำคัฯในโลก ต่างมีมาตราฐานของตนเองมานานแล้ว โดยมาตราฐานประจำชาติของแต่ละประเทศต่างร่างขึ้นใช้ภายในประเทศของตนเอง เพื่อให้ตรงวิธีปฎิบัติของตนเอง นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมของประเทศนั้นๆ ด้วย
มาตราฐานประจำชาติที่สำคัญ ได้แก่
- ANSI (American National Standard Institute) ของประเทศสหรัฐอเมริกา
- NEC (National Electrical Code) ของประเทศสหรัฐอเมริกา
- BS (British Standard) ของประเทศอักกฤษ
- DIN (German Industrial Standard) ของประเทศเยอรมันนี
- VDE (Verband Deutscher Elektrotechniker) ของประเทศเยอรมันนี
- JIS (Japan Industrial Standard) ของประเทศญี่ปุ่น
- TIS หรือ มอก. (มาตราฐานผลิตภัณฑ์อุตสหกรรม) ของประเทศไทย
- EIT หรือ วสท. (มาตราฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า) ของประเทศไทย
3) มาตราฐานของแต่ละหน่วยงาน
- ซึ่งก็เป็นการนำเอามาตราฐานสากลหรือมาตราฐานประจำชาติต่างๆ เอามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละหน่วยงานนั้นๆ
*** ในขณะนี้มาตราฐานประจำชาติ ของชาติอุตสหรรมใหญ่ๆ ได้ลดความสำคัญลงมากตามโลกาภิวัฒน์ และเนื่องจากมาตราฐานประจำชาติถือเป็นกำแพงการค้าอย่างหนึ่ง หลายๆ ประเทศจึงได้พยายามปรับปรุงมาตราฐานประจำชาติของตนเองใหม่ให้ตรงตามมาตรฐานสากล และหลายประเทศได้ยกเลิกมาตราฐานของตนเองโดยนำมาตราฐานสากลทั้งฉบับมาใช้เป้นมาตราฐานประจำชาติของตน
*** สำหรับประทเศไทยในอดีตการทำมาตราฐานทางไฟฟ่าวนมากจะแปลเรียบเรียงมาจากมาตราฐาน IEC การแปลนั้นต้องใช้เวลามากและความหมายอาจจะไม่ตรงกับความหมายเดิม แต่ในขณะนี้มาตราฐานสำหรับอุปกรร์ไฟฟ้านั้นไม่มีการแปลและเรีบเรียงอีกต่อไป แต่จะนำมาตราฐาน IEC ทั้งฉบับซึ่งเขียนเป็นภาษาอักกฤษมาเป็นมาตราฐานไทยเลยตามแนวปฎิบัติซึ่งหลายๆประเทศในโลกกำลังทำอยู่
*** เมื่อรู้จักมาตราฐานกันแล้วมาดูต่อไปว่า...มาตราฐานตัวไหน พูดถึง มาตราฐานอุปกรณ์ และมาตราฐานตัวไหนพูดถึงการติดตั้ง
1) มาตราฐานอุปกรณ์ไฟฟ้า
- อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในระบบไฟฟ้ามีอยู่มากมายหลายชนิดส่วนมากจะมีมาตราฐานควบคุมคุณภาพอยู่แล้วโดยมาตราฐานอุปกรณ์ไฟฟ้าที่นิยมใช้กันมาก คือ IEC จะสังเกตได้จากแคตตาลอกของอุปกรณ์ไฟฟ้าจะอ้างอิงถึงมาตราฐานนี้อยุ่เสมอ เช่น เซอร์กิตเบรกเกอร์ไฟฟ้าแรงสูง จะอ้างอิงมาตราฐาน IEC- 60694 “ Common specifications for high-voltage switchgear and controlgear standards Applies ” เป็นต้น
- ดังนั้นในการออกแบบระบบรวมถึงข้อกำหนดของอุปกรณ์ไฟฟั้นั้น ในประเทศไทย รายละเอียดที่กำหนดในแบบโดยมากจะอ้างอิงมาจาก มอก. และมาตราฐาน IEC เป็นหลัก หรือบ้างครั้งก็ใช้มาตราฐานอื่นประกอบหากอปุกรณ์ดังกล่าวไม่มีอยู่ในมาตราฐานไทยหรือมาตราฐาน IEC
2) มาตราฐานการออกแบบและติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้า
2.1) มาตราฐานต่างประเทศในการการออกแบบและติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้า
- มาตราฐานต่างประเทศที่นิยมใช้กันมากในประเทศไทย คือ NEC (National Electrical Code) ซึ่งเป็นมาตราฐานการออกแบบและติดตั้งระบบ และอุปกรณ์ไฟฟ้าของประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มมีครั้งแรกตั้งแต่ปี 1897 และมีการแก้ไขปรับปรุงทุกๆ 3 ปี จึงนับได้ว่าเป็นมาตราฐานการออกแบบและติดตั้งที่สมบูรณ์มาก มาตราฐาน NEC ได้เข้ามาในประเทศไทยอย่างมากในช่วงที่ประเทศสหรัฐอเมริกามีฐานทัพในประเทศไทย วิศวกรไฟฟ้าของไทยส่วนมากจึงนิยมใช้ NEC เป็นพื้นฐานในการออกแบบ และติดตั้งระบบไฟฟ้า
2.2) มาตราฐานสากลในการการออกแบบและติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้า
- เนื่องจากหลายๆ ประเทศโดยเฉพาะประเทศในทวีปยุโรปมีมาตราฐานการติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าเป้นของตนเอง ซึ่งจะมีความแตกต่างในรายละเอียดต่างๆเป็นอย่างมาก ดังนั้น IEC จึงได้ทำมาตราฐานเกี่ยวกับการติดตั้งระบบ อุปกรณ์ไฟฟ้า ขึ้นในปี 1972 คือ IEC-60364 “ Electrical Installation of Buildings ” ซึ่งมีอยู่หลายฉบับ
- ในมาตราฐานนี้ IEC 60364 นี้ คณะกรรมการฝ่ายเทคนิคผู้ร่างได้ใช้มาตราฐานการติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าของหลายประทศเป็นตัวอย่างรวมทั้ง NEC ด้วยเพื่อให้มาตราฐานที่ได้เป็นสากล และสามารถปฎิบัติได้
2.3) มาตราฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย
- การติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยนั้น ในอดีตการไฟฟ้า นครหลวง(กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ต่างมรมาตราฐานของตนเอง ข้อกำหนดส่วนมากจะเหมือนกัน แต่ก็มีบางส่วนที่ต่างกันทำให้ผู้ออกแบบระบบไฟฟ้าและผู้ติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าเกิดสับสน ด้วยเหตุนี้สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) หรือ The Engineering Institute of Thailand (EIT) ด้วยความร่วมมือจากการไฟฟ้าทั้งสองแห่งดังกล่าวได้จัดทำ “ มาตราฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย ” ขึ้นเพื่อให้มั่งประเทศมีมาตราฐานเรื่องการติดตั้งไฟฟ้าฉบับเดียวกัน
- มาตราฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยฉบับใหม่นี้ เนื้อหาส่วนมากจะแปลและเรียบเรียงมาจาก NEC และก็มีความพยายามที่จะนำมาตราฐานของ IEC มาใช้ด้วย โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ไฟฟ้า
เครดิต...ผู้ถ่ายทอดความรู้โดย... อาจารย์ ผศ. ประสิทธิ์ พิทยพัฒน์ (จากหนังสือการออกแบบระบบไฟฟ้า)
มาตรฐาน NEC ฉบับแปลไทย มีไหมครับ
ตอบลบ