ความเป็นมา...ของมาตราฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้าของประเทศไทยฉบับล่าสุด...ที่ได้รับการย่อมรับและใช้อ้างอิงกันอย่างแพร่หลายกันอยู่ในปัจจุบัน
มาตราฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน พ.ศ. 2545 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ 2551) EIT Standard 2001-51
(คัดลอกบ้างส่วนมาจาก คำนำ ในมาตราฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน พ.ศ. 2545)
- วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัม (วสท.๗ ได้นำกฎการเดินและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า พ.ศ 2538 ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน : MEA) และแนวปฎิบัติในการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า พ.ศ 2537 ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟน : PEA) มาพิจารณาเพื่อรวมเป็นมาตราฐานเดี่ยวกันโดยได้รับความเห็นชอบจากการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าภูมิภาคแล้ว กฎและแนวทางปฎิบัติทั้งสองมาตราฐานนี้มีทั้งส่วนที่เหมือนกันและแตกต่างทั้งนี้อาจเนื่องจากเหตุผลหลายประการ คือ ความแตกต่างทางด้านระบบไฟฟ้า ด้านมาตราฐานอุปกรณ์ไฟฟ้า ด้านการออกแบบ ด้านระเบียบและนโยบาย ด้านสภาพภูมิศาสตร์และความแตกต่างของผู้ใช้ไฟฟ้า
- การปรับปรุงมาตราฐานในครั้งนี้มีวัตถูประสงค์เพื่อให้การติดตั้งทางไฟฟ้าของผุ้ใช้ไฟฟ้ามีระบบแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 33 เควี หากไม่ได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น ได้มีมาตรฐานดเดี่ยวกันทั้งประเทศ เพื่อให้ได้ทั้งความปลอดภัยและความสะดวกในการใช้งานระบบไฟฟ้า
- มาตราฐานบังคับใช้เฉพาะผู้ใช้ไฟฟ้าเท่านั้น มิได้บังคับครอบคลุมการออกแบบหรือติดตั้งของการไฟฟ้าฯ มาตราฐานฉบับนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ได้รับการอมรมหรือสำหรับผู้มีความรู้ทางด้่านการออกแบบหรือติดตั้งระบบไฟฟ้าเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น