ทำไมถึงห้ามต่อจุดนิวทรัลของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าลงดินโดยตรง กรณีใช้สวิตซ์สับถ่ายอัตโนมัติ (Automatic Transfer Switch : ATS) แบบ 3 pole แต่ถ้าใช้แบบ 4 pole สามารถต่อกราวด์แยกต่างหากได้ ?
การใช้ ATS 3 pole จะมีจุดต่อที่ 1 รับไฟจากการไฟฟ้า(หรือหม้อแปลง) และจุดต่อที่ 2 รับไฟจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และจุดต่อที่ 3 จะต่อเข้ากับนิวทรัลของระบบไฟ ทำให้แหล่งจ่ายไฟทั้งสองแหล่งใช้นิวทรัลร่วมกันอยู่ จึงถือว่าเป็นแหล่งจ่ายไฟที่ไม่ได้แยกอิสระกัน ดังนั้นหากมีกระแสไหลผ่านที่นิวทรัลจะมีกระแสแยกไหลไป 2 ทางคือไหลไปยังสายนิวทรัลที่หม้อแปลงที่ต่อกับระบบกราวด์ลงดินที่จุดเมนหลัก และอีกทิศทางหนึ่งจะไหลไปทางสายนิวทรัลของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ต่อลงดินอยู่เช่นกัน ทำให้การวัดค่ากระแสรั่วลงดินที่ตู้ MDB จะทำงานผิดพลาดได้ เนื่องจากจะมีกระแสไฟบ้างส่วนไหลผ่านสายดินและบ้างส่วนอาจจะมีการไหลลงดินโดยตรงที่กราวด์ที่เครื่องกำเนิด ทำให้เครื่องป้องกันกระแสรั่วลงดินที่ติดตั้งที่ตู้ MDB วัดกระแสไฟฟ้าที่จากสายเส้นไฟ L1+L2+L3 ไม่เท่ากับ N ทำให้เป็นสาเหตุให้เบรคเกอร์ตัดวงจรได้ในสภาะปกติ ซึ่งมันก็เหมือนกับที่มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย ของ วสท. ได้กำหนดไว้ในข้อ 4.3.1 ระบบการต่อลงดินแบบ TNC-S "ห้ามต่อลงดินที่จุดอื่นๆอีกทางด้านไฟออกของบริภัฑ์ประธาน"
แต่การใช้ ATS 4 pole จะมีจุดต่อที่ 1 และ 2 ต่อกับสายเส้นไฟและนิวทรัลของการไฟฟ้า และ จุดต่อที่ 3 และ 4 จะต่อแยกสายเส้นไฟและนิวทรัลที่มาจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ ซึ่งสามารถแยกวงจรนิวทรัลออกจากกันได้อิสระเวลาสับเปลี่ยนรับไฟจากการไฟฟ้า และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทำให้ไม่มีกระแสไหลผ่านสายดิน กรณีแบบนี้ถือเป็นตัวจ่ายไฟแยกต่างหาก ซึ่งในมาตรฐานทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย ของ วสท.ในหัวข้อที่ 4.6 อนุญาตให้จุดนิวทรัลของเครื่องกำหนดต่อลงดินโดยตรงได้ เผื่อรักษาคุณภาพของแรงดันไฟฟ้าให้มีเสถียรภาพคงที่ตลอดเวลาไม่เปลี่ยนแปลงตามโหลดที่ไม่สมดุล หรือแรงดันเกินที่อาจจะเกิดจากผ่านนอกได้
และการแยกนิวทรัลออกจากกันในกรณ๊ที่มีแหล่งจ่ายไฟสองแหล่งจ่าย จะสามารถป้องกันผลของการเกิดแรงดันเกินชั่วขณะหรือแรงดันกระชาก จากการสับเปลี่ยนแหล่งจ่ายไฟ ซึ่งหากใช้นิวทรัลร่วมกันแล้วอาจเกิดสภาวะ Neutral Overlapping คือการที่สายนิวทรัลขาดหายไปชั่วขณะอาจจะเกิดแรงดันเกินได้ เช่น ปกติไฟเส้นมีไฟเทียบนิวทรัลจะเท่ากับ 220Vโดยประมาณ แต่ไฟอาจจะมาเกินได้ถึง 380V โดยประมาณ ในระบบ 1 เฟส ได้หากเกิดกรณีนิวทรัลขาด ซึ่งปกติถ้านิวทรัลหายไปจากระบบ 1-2 มิลลิวินาทีก็อาจจะเกิดอันตรายกับอุปกรณ์ที่ต่ออยู่ในระบบได้แล้ว แต่ระบบที่ใช้สวิตซ์แยกทั้งนิวทรัลและไฟจะต่อเข้ากับออกพร้อมกันผู้ผลิตสามารถทำให้สับไฟเข้าพร้อมกันได้สูงสุดต่างกันไม่เกิน 0.05 มิลลิวินาที หรือ 50 ไมโครวินาที ซึ่งเป็นระยะเวลาที่น้อยมากจนไม่เป็นอันตรายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต่ออยู่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น