*1) ไขควงวัดไฟ ประกอบด้วยหลอดนีออน ต่ออนุกรมกับตัวต้านทานค่าสูงๆ ประมาณ 500 กิโลโอห์ม
หลอดนีออน (ไม่ใช่ LED) เป็นหลอดที่ไม่มีไส้ ให้แสงสีส้ม กินกระแสน้อยมาก ก็สามารถติดสว่างได้แล้ว
ตัวต้านทานนั้นใช้เพื่อจำกัดกระแสไม่ให้เกินระดับที่จะเกิดอันตรายกับผู้ใช้งานครับ
การที่หลอดติดเรืองแสงขึ้นมาได้ เพราะตัวผู้ใช้เป็นส่วนหนึ่งของการไหลของกระแสไฟฟ้าจากปลายไขควง ผ่านเข้าหลอดนีออน และตัวต้านทาน ผ่านมาที่หัวไขควงจุดที่เอานิ้วแตะ ผ่านร่างกายผู้ใช้ ผ่านเท้า(และรองเท้า) ลงไปที่พื้นดิน กลับไปยังต้นทางครับ
* 2) เรื่องทำไมเอามือแตะแล้วไม่ดูด
จริงๆ มันก็มีกระแสไหลผ่านมือเรานั่นล่ะแต่ไหลน้อยๆ ไม่รู้สึก
(บางคนอาจรู้สึกนะ)
ไหนๆ ก็ตอบแล้วอุปกรณ์พอมี อาศัยกล้องมือถือละกัน
วัดให้ดูเลยว่ากระแสที่ไหลมันมากแค่ไหน ในมิเตอร์นั่นหน่วยเป็นไมโครแอมป์ครับ
ซึ่งเท่ากับ 0.1157 mA (มิลลิแอมป์)
หรือ 0.0001157 A (แอมป์)
น้อยมากๆ จนไม่รู้สึก
* 3) ไหนๆ ก็มาถึงนี่ล่ะ ผมจะลองวัดกระแสที่ไหลผ่านมือจริงๆ ดีกว่า โดยจะปลดสายนิวทรอลออก แล้วเอามือจับแทน..........
ไฟจาก L จะไปเข้าแอมป์มิเตอร์ และมาที่หลอดนีออน+R แล้วมาที่นิ้วมือ
พบว่ากระแสไหลแค่ 89.1 ไมโครแอมป์ (0.0000891 แอมป์)
ไหลผ่านมือผมอยู่แล้วไปครบวงจรที่เท้าที่เหยีบอยู่บนพื้น
ซึ่งมือผมทำหน้าที่แทนอีกสายที่ถอดออกไป
ถ้าสังเกตจะพบว่ากระแสจะไหลน้อยกว่าภาพข้างบนที่ต่อโดยตรงไปที่นิวทรอลเล็กน้อย
* 4) คงเป็นภาพสุดท้ายแล้ว คือทดลอง..... ยกขาขึ้นจากพื้น หลอดหรี่ลง กระแสไหลน้อยลง
เหลือเพียง 13.1 ไมโครแอมป์เอง หลอดแทบไม่ติดแล้ว.......
ดังนั้นถ้าใส่รองเท้าอย่างดีมีฉนวนที่พื้นปูไว้ ก็อาจทำให้ไขควงวัดไฟทำงานไม่ได้ ดังนั้นตอนวัดอาจจะต้องเอามือช่วยจับผนังปูนไว้หน่อยก็จะทำให้หลอดสว่างขึ่นได้
credit : จากคุณ : pa_ul - [ 23 ก.ย. 51 21:54:57 ] Pantip
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น