วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ทำไมแรงดันไฟฟ้าที่ระบบสายส่งจ่ายจึงมีขนาดเป็นตัวคูณเป็น 1.1

Q : ทำไมแรงดันไฟฟ้าที่ระบบสายส่งจ่ายจึงมีขนาดเป็นตัวคูณเป็น 1.1
เช่น 11, 22(24), 33, 66(69), 110(115) หรือ 220(230) กิโลโวลต์ (kV)

Note: แรงดันที่ว่า (โดยประมาณ) คือ Nominal Voltage 11,22,33,66,110,220 ส่วนแรงดัน 24,69,115,230 คือ Rated Voltage

A : แรงดันไฟฟ้าหรือกระแสไฟฟ้าซึ่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับจะผลิตสัญญาณออกมาจะอยู่ในรูปคลื่น sine wave โดยในองค์ประกอบของรูปคลื่น sine wave นี้ จะมีสัดส่วนของค่าอยู่ 2 ค่า ที่เป็นสัดส่วนคงที่เสมอ ไม่ว่ารูปแรงดันไฟฟ้าจะมีค่ามากหรือน้อย (หรือไม่ว่ารูปคลื่นจะใหญ่หรือเล็ก) คือ สัดส่วนของค่า rms ต่อ ค่า avg. (rms/avg) ที่เรียกว่า Form Factor (Kf)

1) ค่า rms (Root mean square) หรือค่าใช้งานจริงหรือค่าพื้นที่ใต้กราฟรูปคลื่น sine หรือค่าที่วัดได้จากเครื่องวัดไฟฟ้า ซึ่งค่า rms นี้จะมีค่าเท่ากับค่าสูงสุดที่จุดยอดของส่วนโค้งรูปคลื่นหารด้วยรากที่ 2 ... ซึ่งจะได้ค่าแรงดัน rms ดังนี้

Vrms = Vmax/root 2 = Vmax/1.414 = 0.707*Vmax

2) ค่า avg (Average) หรือค่าเฉลี่ยที่คำนวณจาดความสูงของยอดคลื่นทั้งด้านบวกและลบหารของสัญญาณ sine แต่ในรูปคลื่น sine ค่าเฉลี่ยเท่ากับศูนย์ ดังนั้นในการคิดค่าเฉลี่ยจึงคิดแค่ครึ่งไซเคิลเท่านั้น หรือ เท่ากับ pi (TT) หรือ 3.14 ... ซึ่งจะได้ค่าแรงดัน avg ดังนี้

Vavg = 2*Vmax/3.14 = 0.636*Vmax

*** ดังนั้นสัดส่วนของค่า Form Factor ของ Sine wave เท่ากับ
Vrms/Vavg = (0.707*Vmax)/(0.636*Vmax) = 0.707/0.636 = 1.111 หรือ ประมาณ 1.1 นั้นเองครับ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น