วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ลานหม้อแปลง

Q : การไฟฟ้ากำหนดให้ ... 
ลานหม้อแปลงที่เป็นชนิดระบายความร้อนด้วยน้ำมัน พื้นของลานหม้อแปลงต้องใส่หินเบอร์ 2 หนาไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร ยกเว้นส่วนที่ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์

เพื่ออะไรใครรู้เจตนาที่แท้จริงบ้าง ช่วยบอกที และทำไมต้องหินเบอร์ 2 เบอร์อื่นใช้แทนกันได้ไหม สงสัยจัง... ?



A : เรื่องการใส่หินไปในลานหม้อแปลงนั้น เท่าที่ผมเข้าใจน่ามีประโยชน์ ประมาณนี้นะ

1. เพื่อให้น้ำมันหม้อแปลงซึมลงใต้หินเมื่อเกิดรั่ว หรือหรือเมื่อหม้อแปลงระเบิดและเกิดเพลิงไหม้น้ามันหม้อแปลง 

2. เพื่อป้องกันพวกสัตว์เลื้อยคลาน เพราะหินมันจะมีคมมีเหลี่ยม ทำให้สัตว์ไม่ชอบเข้าไปในพื่นที่นั้น

3. เพื่อลดความหนาแน่นของสนามไฟฟ้าให้ลดลง เพราะโดยปกติประจุไฟฟ้าจะเกาะอยู่ตามพื้นผิวของวัตถุ (ตามที่เคยเรียนในวิชา Electromag.) ยกตัวอย่างว่า หากบริเวณลานหม้อแปลงมีประจุไฟฟ้าอยู่ เช่น 100 คูลอมต่อตรม. หากลานหม้อแปลง มีขนาด 1 ตร.ม. ก็เท่ากับมีสนามไฟฟ้า 100 คูลอม/ตร.ม. ดังนั้นเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวให้มากขึ้นเพื่อลดสนามไฟฟ้าให้ลดลงก็ทำโดยการรวยหินเข้าไปในพื้นที่ 1 ตร.ม นั้น ทำให้เกิดพื้นผิวเพิ่มมากขึ้น เพราะหินแต่ละกอนจะมีพื้นที่ผิวรอบๆเมื่อมารวมกันก็จะทำให้พื้นที่ผิวจากเดิมมีแค่ 1 ตร.ม ก็จะเพิ่มมากขึ้ย ดังนั้น เมื่อมีประจุ เท่าเดิมคือ 100 คูลอม ก็จะมีตัวหารของพื้นที่ผิวเพิ่มขึ้น วิธีการคิดแบบนี้นำไปใช้กับลานไกไฟฟ้าที่อยู่หน้าโรงผลิตไฟฟ้าของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต เพราะที่แรงดันไฟฟ้าสูงๆ จะมีสนามไฟฟ้าสูงมาก เวลาคนเดินเข้าไปในลานหม้อแปลงก็อาจจะเกิดปรากฎการณ์ step voltage ที่แรงดันขาทั้งสองขาไม่เท่ากันในขณะที่ก้าวขา ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าวิ่งไหลผ่านตัวคนได้



1 ความคิดเห็น: