วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557

กฎหมายแสงสว่างของไทยฉบับใหม่ ปี พ.ศ. 2549

กฎหมายแสงสว่างของไทยฉบับใหม่ ปี พ.ศ. 2549

โดย กิตติ สุขุตมตันติ (วาสาร TIEA ปีที่ 1, ฉบับที่ 2, มกราคม – มีนาคม 2550 : Law and Standard หน้าที่ 5)

- กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับด้านแสงสว่างของประเทศไทยที่ผ่านมาได้มีกฎหมายเกี่ยวข้องหลายบับ หากจะกล่าวถึงกฎหมายเฉพาะเรื่องระดับความเข้มแสง (Illuminance มีหน่วยเป็น lux ลักซ์) นั้นก็มีกฎหมายที่ระบุเกี่ยวข้องโดยตรงตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2537 คือ กฎกระทรวงฉบับที่ 39 (พ.ศ 2537) ตาม พรบ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จากนั้น ได้มีกฎหมายท้องถิ่นของกรุงเทพมหานครที่ออกมาในปี พ.ศ. 2544 คือ ข้อบัญัญัติกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2544 ซึ่งจะมีเกณฑ์ที่สอดคล้องตามกฎกระทรวงฉบับที่ 39
- ต่อมาการพัฒนาทางด้านแสงสว่าง ตามมาตรฐานสากลของ CIE ซึ่งเป็นองค์กรมาตราฐานด้านแสงสว่างของโลก (Commission Internationale del’Eclairage) ได้ปรับปรุงมาตราฐานระดับความเข้มแสงใหม่ ทางสมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นตัวแทนของ CIE ในประเทศไทย จึงได้จัดทำมาตราฐาน TIEA-GD003:2003 ข้อแนะนำระดับความสว่างภายในอาคาร (พ.ศ. 2546) เพื่อกำหนดมาตราฐานระดับความเข้มแสงในประเทศไทย อันเป็นมาตราฐานที่ได้รับการยอมรับนิยมใช้ในประทเศไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา (และส่งผลให้ยุติการอ้างอิงมาตราฐานประเทศอื่น เช่น IESNA, JIS)
- ล่าสุดในปี พ.ศ. 2549 กระทรวงแรงงาน ได้ออกกฎหมายกระทรวงฉบับปี พ.ศ. 2549 ตาม พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 คือ กฎกระทรวงกำหนดมาตราฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับ ความร้อน แสงสว่างและเสียง พ.ศ. 2549 ซึ่งมีระดับค่าความเข้มแสงที่แตกต่างไปจากกฎหมายเดิม
- ซึ่งค่าตามกฎหมายใหม่นี้มีความแตกต่างจากมาตราฐานและกฎหมายฉบับเก่าอยุ่บ้างในบางพื้นที่การใช้งาน
- ตามหลักปฎิบัติตามกฎหมาย ในกรณีที่กฎหมายมีข้อความขัดแย้งกัน ให้ยึดถือกฎหมายที่มีศักย์สูงกว่า ในกรณีนี้ ข้อบัญัญติกรุงเทพมหานครมีศักย์ต่ำกว่ากฎกระทรวงหากข้อบัญญติ มีข้อความขัดแย้งกับกฎกระทรวง ก็ให้ยึดถือกฎกระทรวง ส่วนกรณีที่ศักย์เท่ากัน เช่น กฎกระทรวงตาม พรบ. ควบคุมอาคาร กับ กฎกระทรวงตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน ก็ให้ยึดถือกฎกระทรวงที่ใหม่ล่าสุดกว่า ซึ่งก็คือ กฎกระทรวงกำหนดมาตราฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับ ความร้อน แสงสว่างและเสียง พ.ศ. 2549 แต่หากผู้เกี่ยวข้องไม่มั่นใจก็จะยึดถือค่าไม่น้อยกว่ากฎหมายทุกฉบับที่เกี่ยวข้องก็ได้ ซึ่งผู้ตรวจสอบอาคารตาม พรบ. ควบคุมอาคารและผู้ใช้อาคาร ก็จะมีความปลอดภัยในการไม่ถูกบทลงโทษตามกฎหมายได้หากยึดตามกฎหมายทุกฉบับ
- ค่าตามมาตราฐานเป็นค่าขั้นต่ำ ซึ่งตลอดระยะเวลาการใช้งาน ที่อาจจไม่มีการบำรุงรักษา ก้จะต้องได้ค่าไม่ต่ำกว่าค่ามาตราฐาน มิฉะนั้นแล้วอาจจะเกิดความไม่ปลอดภัยในการใช้งาน เช่น มีผลกระทบต่อสุขภาพสายตา หรือ ร่างกายจากการสะดุดหกล้มได้รับอุบัติเหตุ หรือ ไม่ปลอดภัยจากการเกิดอาชญากรรม ซึ่งในประเทศไทย ได้ยึดถือ มาตราฐาน TIEA-GD003:2003 ข้อแนะนำระดับความสว่างภายในอาคาร (พ.ศ. 2546) เป็นมาตราฐานอ้างอิง ที่ได้รับการยอมรับจากผู้ออกแบบและผู้ใช้งานทั่วไป โดยได้รับการสนับสนุนจาก สมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย, สมาคมวิศวกรออกแบบที่ปรึกษาเครื่องกลและไฟฟ้าไทย, สมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย และสมาคมวิสวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ได้ร่วมกันจัดทำมาตราฐานดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามหากไม่ปฎิบัติตามมาตราฐานก็ไม่มีบทลงโทษตามกฎหมาย เพียงหากแต่เกิดความไม่ปลอดภัยเกิดขึ้น ผู้เกี่ยวข้องก็มีสิทธิที่จะโดนฟ้องร้องให้รับโทษในฐานะบกพร่องต่อการทำงานได้
- การกำหนดค่าตามกฎหมายนั้น โดยทั่วไปแล้ว กฎหมายจะกำหนด่าต่ำว่ามาตราฐาน เพราะหากขาดการดูแลรักษาที่ดีก็อาจเกิดเหตุที่ค่าต่ำกว่ามาตราฐานได้ ดังนั้นเพื่อไม่ได้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับบทลงโทษตามกฎหมาย จึงนิยมกำหนดค่าตามกฎหมายให้ต่ำกว่ามาตราฐาน ส่วนมาตราฐานซึ่งมีการปรับปรุงได้ง่านกวยกว่าการปรับปรุงกฎหมาย ก็จึงได้มีการปรับค่าให้เหมาะสม ซึ่งในมาตราฐาน TIEA-GD003:2003 ได้ใช้หลัการประหยัดพลังงานมาประกอบในการพิจารณากำหนดค่าที่เหมาะสม จึงได้มีการปรับปรุงค่าบ้างพื้นที่ให้ต่ำลง เพื่อวัตถุประสงค์ในการประหยัดพลังงานในพื้นที่ที่ไม่มีความหมายจำเป็นต้องใช้ความเข้มแสงมากนัก ดังนั้นจึงทำให้ค่าตามกฎหมายเดิม พ.ศ. 2537 กับ มาตราฐาน พ.ศ. 2546 มีบางค่าที่สูงต่ำเหลื่อมล้ำกัน
- แต่หลังจากได้มีกฎหมายใหม่ พ.ศ. 2549 ซึ่งถือเป็นกฎหมายฉบับล่าสุด ที่ผุ้ตรวจสอบอาคารและผู้เกี่ยวข้องต้องยึดถือปฎิบัติตามนั้น ได้มีการปรับค่าพื้นที่ให้ต่ำลงเพื่อประหยัดพลังงาน เช่น ระดับความเข้มแสงที่ทางเดิน และบันได แต่ก็ต้องระวังว่าการลดค่าความเข้มแสงลงอาจเกิดความไม่ปลอดภัยได้เพราะค่าดังกล่าวมีค่าตำว่ามาตราฐาน
- ส่วนพื้นที่ เช่น พื้นที่ทำงาน พื้นที่บันทึกข้อมูลคอมพิวเตอร์ บริเวณที่แสดงข้อมูลจอภาพ จอคอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้ทำงานในสำนักงานส่วนใหญ่ที่มีการใช้คอมพิมเตอร์จะถูกผลกระทบจากข้อกำหนดนี้ อันเป็นการกำหนดค่าความเข้มแสงขั้นต่ำถึง 600 ลักซ์ ซึ่งสูงกว่ามาตราฐาน และสูงกว่ากฎหมายฉบับเก่า ซึ่งจะสร้างปัญหาให้กับโครงการอนุรักษ์พลังงานให้หลายๆอาคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะส่งผลให้อาคารราชการส่วนใหญ่ที่มีระดับความเข้มแสงเพียง 200-300 ลักซ์ เข้าข่ายผิดกฎหมายที่ต้องได้รับบทลงโทษ หลังจากที่กฎหมายฉบับใหม่นี้เริ่มมีผลบังคับใช้ 180 วันนับจากวันที่ 16 ก.พ. 2549 ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องจึงควรจำเป็นต้องเตรียมการปฎิบัติเพื่อรองรับกฎหมายฉบับใหม่นี้ต่อไป



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น