วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557

หม้อแปลงใช้งานอยู่ในเขตการไฟฟ้านครหลวงจะย้ายโรงงานไปอยู่ต่างจังหวัดในเขตการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสามารถเอาหม้อแปลงไปใช้ได้หรือไม่ ?

Q : คำถาม
มีหม้อแปลงใช้งานอยู่ในเขตการไฟฟ้านครหลวงจะย้ายโรงงานไปอยู่ต่างจังหวัดในเขตการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสามารถเอาหม้อแปลงไปใช้ได้หรือไม่ ?

A : คำตอบ
หม้อแปลงระบบไฟ 24kv-416/240v (tap -4 x 2.5%) ในเขต กฟน. จะนำไปใช้งานในเขตจ่ายไฟของ กฟภ. 
ที่เป็นแรงดัน 22kv (ระบบไฟของหม้อแปลงคือ 22kv-400/230v tap +/-2 x 2.5%) เมื่อดูที่แรงดันไฟเข้าไฟออก
และเปอร์เซ็นต์แท๊ปของทั้งสองระบบแล้วรู้สึกจะงงๆดูเหมือนจะไม่ค่อยจะเข้ากันได้

> ก่อนจะตอบคำถามนี้ให้ ลองดูตัวเลขแรงดันของแต่ละแท๊ปของหม้อแปลง กฟน.ดังนี้
Tap ที่ 1 แรงดัน 24000 v - 416 v
Tap ที่ 2 แรงดัน 23400 v - 416 v
Tap ที่ 3 แรงดัน 22800 v - 416 v
Tap ที่ 4 แรงดัน 22200 v - 416 v
Tap ที่ 5 แรงดัน 21600 v - 416 v

> ที่แท๊ป 3 สัดส่วนแรงดันที่หม้อแปลงคือ 22800 - 416 v ถ้าสมมุติเราจ่ายแรงดัน 22000 v เข้าที่แท๊ปนี้ เราจะ
ได้ไฟออกมาที่ 401.4 v (คำนวณตามบัญญัติไตรยางค์) สังเกตว่าแรงดันนี้จะใกล้เคียงกับแรงดันที่แท๊ป 3 ของ หม้อแปลงในระบบของ กฟภ.คือ 22000 - 400 v. ( สำหรับแท๊ปอื่นๆก็จะใกล้เคียงเช่นกัน)

> หม้อแปลงทั้งสองระบบต่างออกแบบที่ระดับ system voltage เดียวกันคือที่ max voltage 24kv ค่าแรงดัน
BIL 125 KVp เท่ากัน จึงใช้ค่าทดสอบแรงดันเดียวกัน

> สรุปแล้ว ในทางปฏิบัติเราสามารถนำหม้อแปลงไฟฟ้าในเขต กฟน. 24kv-416v tap -4 x 2.5% มาใช้งานใน
เขต กฟภ. 22kv-400v tap +/-2 x 2.5% ได้โดยให้ผู้ผลิตหม้อแปลงคำนวนค่าแรงดันใหม่ให้สอดคล้องกับของ
กฟภ. แล้วทำแผ่น name plate ใหม่และนำไปตรวจสอบที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคก่อนการใช้งาน

> ผลกระทบหม้อแปลงที่แรงดันใหม่มีดังนี้
- แรงดันไฟฟ้าที่ออกมาใช้งานแตกต่างกันเล็กน้อย ซึ่งไม่มีผลต่อการใช้งาน
- ค่า No-load loss จะลดลงเล็กน้อยเพราะเราจ่ายแรงดันน้อยลง
- ระดับเสียงอันเกิดจากแกนเหล็กลดลงเล็กน้อยอันเกิดจากการจ่ายแรงดันลดลง
- ค่า Load loss จะมากขึ้นเล็กน้อย
- ขนาด KVA ของหม้อแปลงอาจลดลงเล็กน้อย ( น้อยมาก )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น