Power Factor (PF.) = P/S
จากความสัมพันธ์ของ สามเหลี่ยมกำลัง หรือ Power Triangle (ตามรูป)
--> ถ้า กำลังไฟฟ้าผลิตหรือที่จ่ายเข้าไปในระบบเรียกเป็น กำลังไฟฟ้าปรากฎหรือ S : Apparent Power (VA) มีค่าใกล้เคียงกับค่ากำลังไฟฟ้าที่ใช้งานจริง หรือ P : Real Power (Watt) ก็จะทำให้ค่าสัดส่วนของกำลังไฟฟ้า Power factor (PF.) = P/S = COS 0 = 1, ใกล้เคียงหนึ่ง (ถ้าดูตามรูปก็หมายถึงเส้นสีแดง (S3) ใกล้เคียงกับเส้นสีเขียว (P)
--> การที่ค่า Power factor ใกล้เคียงหนึ่ง ก็หมายความว่า เราผลิตหรือรับกำลังไฟฟ้าจากการไฟฟ้าเพื่อจ่ายเข้าไปในระบบ รับมาเท่าไหร่ก็ใช้ไปเท่านั้น ไม่มีการสูญเสียเลย หรือมีก็น้อยมาก ซึ่งแบบนี้การไฟฟ้าจะชอบมาก (การไฟฟ้ากำหนดไว้ว่า ถ้าผู้ใช้ไฟ มีค่ากำลังไฟฟ้า PF. ต่ำกว่า 0.85 หรือมีค่ากำลังไฟฟ้าที่สูญเสีย หรือ Q : Reactive Power (var) มากเกิน 62% ของกำลังไฟฟ้าที่ใช้จริง (P) ก็จะต้องเสียค่าปรับ โทษฐานที่ไม่ช่วยชาติประหยัดไฟ )
--> แล้วเราจะทำให้ Power factor ใกล้เคียงหนึ่งได้อย่างไร หากมองตามรูปแล้วจะเห็นเส้นสีน้ำเงิน (S1) ยาวกว่า เส้นสีเขียว (P) เสมอเพราะ ปกติ โหลดทางไฟฟ้าในโลกนี้จะมีโหลดที่เป็นโหลดประเภทขดลวดเสียเป็นส่วนมาก (เช่น เช่น มอเตอร์ บาลาสต์ของหลอดฟลูออเรสเซนต์ หลอดแก๊สดิสชาร์จ เครื่องปรับอากาศ) ซึ่งโหลดชนิดนี้จะเป็นโหลดที่เรียกว่า โหลด L ซึ่งจะทำให้ค่า Power Factor ของระบบล้าหลัง ( Lagging มุม -90องศา ตามรูปคือ สามเหลี่ยมทิ่มหัวลงล่าง)
--> เมื่อต้องการปรับปรุง Power factor ก็ทำได้โดยนำโหลดที่เรียกว่า โหลด C ซึ่งจะทำให้ Power Factor นำหน้า ( Leading มุม + 90องศา มาต่อเข้าในวงจรไฟฟ้าของระบบ เช่น การต่อชุด Capacitor Bank เข้าไปในชุดควบคุมไฟฟ้า) จากรูปเมื่อเราต่อ Capacitor เข้าไปตามเส้นสีส้ม ก็จะไปหักล้างกับโหลด L ในระบบ ทำให้กำลังไฟฟ้าที่จ่ายเข้าไปในระบบ จากเส้นสีน้ำเงิน (S1) ก็ลดลง เป็นเส้นสีม่วง (S2) และหากต่อเพิ่มไปอีกก็จะลดลงไปถึงเส้นสีแดง (S3) ใกล้เคียงเส็นสีเขียว (P) หรือมุมระหว่างเส้น S3 กับ P แคบลงเกือยจะทับกัน อย่างนี้เรียกว่า PF. ใกล้เคียง 1 ตามรูป
--> สรุปง่ายๆ การปรับปรุง Power factor คือ การทำให้กำลังไฟฟ้าที่จ่ายเข้าไปในระบบ (S) ใกล้เคียงกับกำลังไฟฟ้าที่เอาไปใช้งานจริง (P)
สวยพี่สวย
ตอบลบ