มารู้จักชนิดของสถานีไฟฟ้าแรงสูงกัน
รูปแบบของสถานีไฟฟ้าแรงสูงสามารถแบ่งออกตามชนิดของฉนวนในการดับอาร์ทของสวิตซ์ตัดตอน (Power Circuit Breaker )ของสถานีไฟฟ้านั้น ซึ่งมี 2 แบบ คือ
1) สถานีไฟฟ้าแรงสูงแบบใช้ฉนวนอากาศ (Air Insulated Substation : AIS)
• ข้อดีของสถานีไฟฟ้าแบบ AIS คือ
- ระบบสามารถออกแบบให้ยืนหยุ่นกับการใช้งาน, อุปกรณ์ราคาถูก, อุปกรณ์แต่ละตัวแยกอิสระกัน เช่น เซอร์กิตเบรคเกอร์, ใบมีดตัดตอน, หม้อแปลงวัดกระแส, หม้อแปลงวัดแรงดัน, กับดักฟ้าผ่า, บัสบาร์, สามารถจัดหามาทดแทนได้ง่าย
• ข้อเสียของสถานีไฟฟ้าแบบ AIS คือ
- ต้องใช้พื้นที่ในการก่อสร้าง มากกว่าแบบ GIS มากถึง 5-6 เท่า อุปกรณ์, ต้องมีความระมัดระวังในการปฎิบัติงานเพื่อระบบเป็นแบบเปิด อุปกรณ์แต่ละส่วน เชื่อมต่อกันด้วยสายไฟแรงสูง และต้องเลิอกฉนวนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
2) สถานีไฟฟ้าแรงสูงแบบใช้ฉนวนก๊าซ (Gas Insulated Substation : GIS)
• ข้อดีของสถานีไฟฟ้าแบบ GIS คือ
- ใช้พื้นที่ในการก่อสร้างน้อย, ติดตั้งได้รวดเร็วกว่า, มีความปลอดภัยในการใช้งานสูงกว่า, ไม่มีผลกระทบจากมลภาวะภายนอก, การบำรุงรักษาน้อยกว่า
• ข้อเสียของสถานีไฟฟ้าแบบ GIS คือ
- อุปกรณ์มีราคาแพงกว่ามาก, การขายหรือเพิ่มเติมต้องวางแผนล่วงหน้า และต้องใช้ผลิตภัณฑ์เดิม ซึ่งผู้ผลิตมักจะเสนอราคาสุงกว่าความเป็นจริงเมื่อมาติดตั้งภายหลัง, เมื่อมีความเสียหายระหว่างการใช้งาน เช่น หากเกิด fault ภายในจะหาตำแหน่งได้ยากกว่า และการซ่อมแซมมีความยุ่งยาก ทำให้เสียเวลาในการหยุดจ่ายไฟสูงขึ้น, ใช้ก๊าช SF6 เป็นฉนวนในการดับอาร์ท ซึ่งมีราคาแพงและมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม
ส่วนอุปกรณ์หลักภายในสถานีไฟฟ้าแรงสูง ของแบบ AIS ก็มีประมาณนี้ครับ
1) Power Transformer
2) Power Circuit Breaker
3) Disconnecting Switch
4) Current Transformer
5) Voltage Transformer
6) Lightning Arrester
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น