วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ความต้านทานดินของระบบ Grounding ต้องไม่เกิน 5 โอห์ม

คำถาม ทำไมต้อง ความต้านทานดินของระบบ Grounding ต้องไม่เกิน 5 โอห์ม
ซึ่ง รศ.ดร. ชำนาญ ห่อเกียรติ ได้กรุณาอธิบายเรื่องนี้ไว้ใน กระทู้ ถามตอบ ของ website โครงการพัฒนาความชำนาญด้านไฟฟ้ากำลัง ไว้ว่า 
“ ค่าความต้านทานดินที่กำหนดในมาตราฐาน 5 โอห์มเป็นค่าที่ควรทำสำหรับดินทั่วไป เพื่อว่าถ้ามีกระแสรั่วลงดินระบบ 220V ก็ยังมีกระแส 220/5 = 44A ทำให้เบรกเกอร์ขนาดเล็กยังตัดวงจรได้ แต่ถ้ามาตราฐานกำหนดความต้านทานดินสูงมากก็ทำให้เมื่อเกิดกระแสรั่วน้อยทำให้เบรกเกอร์ไม่ตัด และกระแสนี้จะไหลตลอดเวลา นี้เป็นที่มาของความต้านทานดิน 5 โอห์ม
แต่ในกรณีที่ความต้านทานดินสูงมาก เช่น ปัก ground rod แล้วยังออกมา 500 โอห์ม แบบนี้ก็ไม่ต้องไปพยายามไปลดมันเพราะไม่มีทางลดได้ลงมาเหลือ 5 โอห์มได้ กรณีนี้ต้องทำ Equipotentail ground ขึ้นมา คือ ทำเป็นกริดและให้อาคารหรืออุปกรณ์ทุกอย่างอยุ่บนกริดดังกล่าวก็ปลอดภัยแล้ว _ ชำนาญ ห่อเกียรติ (23 October 2004) ”

- อ้างถึงมาตราฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประทเศไทย พ.ศ 2545 (EIT-2001-51)
หัวข้อ 4.27) ความต้านทานระหว่างหลักดินกับดิน (Resistance to Ground)
ค่าความต้านทานของหลักดินกับดินต้องไม่เกิน 5 โอห์ม
ยกเว้น เพื่อที่ที่ยากในการปฎิบัติและการไฟฟ้าฯ เห็นชอบ ยอมให้ค่า ความต้านทานของหลักดินต้องไม่เกิน 25 โอห์ม หากทำการวัด แล้วยังมีค่า เกินให้ปักหลักดินเพิ่มอีก 1 แท่ง

- จากที่เคยได้ทำการทดลอง โดยการตอกหลักดินขนาน เพิ่มเข้าไปอีกที่ละ 1 ชุด ทำให้ค่าความต้านทานเท่ากับ 3.09 โอห์ม 2.23 โอห์ม และ 1.82 โอห์ม ตามลำดับ ตามรูป 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น