วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ระบบที่ลงทุนก่อสร้าง แต่ไม่อยากให้มันทำงาน

"ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire alarm system) เป็นระบบที่ลงทุนก่อสร้าง แต่ไม่อยากให้มันทำงาน"

ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire alarm system) 
หรือเรียกอีกอย่างว่าระบบตรวจจับและแจ้งเหตุเพลิงไหม้

มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ 

1) แหล่งจ่ายไฟ (Power supply) ซึ่งจะต้องจ่ายไฟให้ระบบได้แม้ตอนที่ไฟฟ้าปกติขัดข้อง

2) แผงควบคุม (Fire alarm control panel) คือ ตู้ที่รับสัญญาณและประมวลผลส่งสัญญาณไปให้อุปกรณ์แจ้งเหตุทำงาน

3) อุปกรณ์เริ่มสัญญาณ (Initiating Device) คือ อุปกรณ์ที่เป็นทำหน้าที่รับแจ้งสัญญาณไฟไหม้ มีทั้งแบบที่เป็นแจ้งเหตุด้วยมือ (Manual detector เช่น ปุ่มกด หรือ คั้นโยก) หรือ แบบที่เป็นอัตโนมัติ (Automatic detector เช่น ตัวตรวจจับควัน หรือตัวตรวจจับความร้อน)

4) อุปกรณ์แจ้งเหตุ (Signaling Device) คือ อุปกรณ์ที่ส่งสัญญาณเสียงหรือแสง เพื่อแจ้งเหตุเพลิงไหม้ เช่น กระดิ่ง ลำโพง หรือแสงกระพริบ

5) ต่อแจ้งเหตุระยะไกล (Annunciator Panel) เป็นตู้ที่แสดงจุดที่เกิดเพลิงไหม้ โดยเชื่มต่อจากแผงควบคุมหลัก โดยปกติจะทำเป็นแบบแปลนของพื้นที่นั้น เพื่องานในการว่าจุดใดเกิดเพลิงไหม้

6) อุปกรณ์ประกอบ (Auxiliary Device) คือ ตัวที่จะทำหน้าที่เป็นสวิตซ์เปิดปิด วงจรที่จะส่งสัญญาณไปให้ระบบต่างๆ ที่เกี่ยวกับการผจญพลิงทำงาน หลังจากแผงควบคุมของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้รับสัญญาณไฟไหม้ได้แล้ว เช่น ระบบแดน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ, ระบบอัดอากาศ, ระบบระบายควัน หรือ แม้กระทั้งส่งให้ลิฟต์เลื่อนมายังชั้นที่กำหนดไว้

(หากสนใจเกี่ยวกับระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ให้ลึกกว่านี้ วันหลังจะได้เอาข้อมูลดีๆ ที่ควรรู้เกี่ยวกับเรื่อง Fire Engineering ที่น่าสนใจมาแชร์ให้นะครับ)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น