วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า

หม้อแปลงไฟฟ้าหลากหลายรูปแบบถูกนำมาใข้เป็นส่วนหนึ่งของระบบไฟฟ้า

ในประเทศไทยพลังงานไฟฟ้าถูกผลิตขึ้นจากโรงผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและเอกชน (IPP) ส่งผ่านระบบส่งไฟฟ้าแรงสูง (Transmission Line) 500 เควี 230 เควี 115 เควี และ 69 เควี หรือรูปแบบอื่น เช่น VSPP มายังการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งจำหน่ายกระแสไฟฟ้าผ่านระบบจำหน่าย (Distribution Line) ได้แก่ 24 เควี 22 เควี 33 เควี และ 11 เควี มาถึงกิจการและบ้านพักอาศัยต่างๆ ซึ่งมีอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เช่น แสงสว่าง ปั๊มน้ำ เครื่องทำความเย็น ลิฟท์ เครื่องจักรในการผลิตต่างๆ ซึ่งต้องการกระแสไฟฟ้าที่แรงดันแตกต่างกันทั้ง 1 เฟส 220 โวลท์ หรือ 3 เฟส 400/230 โวลท์ เป็นต้น ในทุกขั้นตอนของการเปลี่ยนแรงดัน จะต้องใช้หม้อแปลงไฟฟ้าเป็นเครื่องปรับค่าแรงดันให้เหมาะสมกับกรณีต่างๆ


วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การติดตั้งตัวนำล่อฟ้ายิ่งสูงยิ่งทำให้รัศมีการป้องกันหรือพื้นที่การป้องกันกว้างตามไปด้วย ข้อนี้เป็นจริงหรือ ?

การติดตั้งตัวนำล่อฟ้ายิ่งสูงยิ่งทำให้รัศมีการป้องกันหรือพื้นที่การป้องกันกว้างตามไปด้วย ข้อนี้เป็นจริงหรือ ?

คำตอบคือ ไม่จริง

สำหรับอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่สูงเกิน 30 เมตร ไม่สามารถใช้วิธีมุมป้องกันได้ ดังนั้นอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีความสูงเกิน 30 เมตร นอกจากจะติดตั้งตัวนำล่อฟ้าที่จุดสูงที่สุดแล้วยังต้องติดตั้งตัวนำล่อฟ้าตรงบริเวณด้านข้างด้วย โดยนำวิธีทรงกลมกลิ้งและตาข่ายมาช่วยในการออกแบบเพิ่มเติม




การออกแบบระบบตัวนำล่อฟ้า ตามมาตรฐาน IEC 62305-3

การออกแบบระบบตัวนำล่อฟ้า ตามมาตรฐาน IEC 62305-3

สามารถใช้ได้ 3 วิธี อย่างอิสระหรืออาจใช้ร่วมกันได้ ขึ้นอยู่กับรูปทรงของอาคารที่จะทำการป้องกัน ดังนี้

1) วิธีมุมป้องกัน (Protective angle) เป็นวิธีที่กำหนดมุมสำหรับการป้องกันไว้ แล้วซึ่งมีลักษณะพื้นที่ของการป้องกันจะเป็นรูปกรวย จะปลอดภัยจากฟ้าผ่าจากฟ้าผ่า มุมป้องกันจะแปรผันตามระดับการป้องกันและคามสูงของตัวนำล่อฟ้า วิธีมุมป้องกันนี้เหมาะที่จะใช้กับสิ่งปลูกสร้างอย่างง่ายหรือส่วนเล็กๆของสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ ตามภาพจะเป็นเหลี่ยมของตึก ซึ่งวิธีมุมป้องกันนี้จะใช้ได้กับตัวนำล่อฟ้าแบบแท่งตัวนำและแบบตัวนำขึงเท่านั้น

2) วิธีทรงกลมกลิ้ง (Rolling sphere) วิธีนี้จะใช้ทรงกลมเหมือนลูกบอลตามภาพ ซึ่งมีรัศมีตามที่กำหนดในตารางตามภาพมุมบนซ้าย (แบ่งตามระดับการป้องกันได้ 4 ระดับ)โดยจะกลิ้งไปบนส่วนของอาคาร ในการออกแบบจึงต้องติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่าชนิดที่เป็นหลักล่อฟ้าหรือสายตัวนำขึงเสียก่อนแล้วกลิ้งลูกบอล ส่วนใดของอาคารที่ผิวของลูกบอลสัมผัสจะถือว่าเป็นส่วนที่ไม่ได้รับการป้องกัน จะต้องติดตั้งตัวนำล่อฟ้าเพิ่มเข้าไป

3) วิธีตาข่าย (Mesh size) วิธีนี้เป็นการใช้ตัวนำล่อฟ้าแนวราบขึงบนส่วนของอาคารส่วนที่สูงที่สุด การติดตั้งที่ให้การป้องกันที่ดีจะต้องติดตั้งตัวนำแนวราบโดยรอบอาคารตามภาพ ซึ่งมีระยะห่างตามที่กำหนดในตารางตามภาพมุมบนซ้าย (แบ่งตามระดับการป้องกันได้ 4 ระดับ)




แต่ละประเทศอ้างอิงมาตรฐานระบบป้องกันฟ้าผ่า ตามมาตรฐานอะไรกันบ้าง

มาดูกันซิว่า แต่ละประเทศอ้างอิงมาตรฐานระบบป้องกันฟ้าผ่า ตามมาตรฐานอะไรกันบ้าง และมาตรฐานใด อ้างอิง Conventional type หรือระบบดั้งเดิม และประเทศใด อ้างอิง ESE type หรือ Early Streamer Type)

ระบบล่อฟ้าระหว่าง Faraday Cage กับ Early Streamer Emission (ESE) เอาแบบไหนดี

ระบบล่อฟ้าระหว่าง Faraday Cage กับ Early Streamer Emission (ESE) เอาแบบไหนดี

- กฎหมาย และ มาตราฐาน วสท. ของเมืองไทย แม้กระทั้ง มาตราฐาน นานาชาติ IEEE, NFPA, NEC, IEC, UL ต่างก็ไม่ย่อมรับระบบล่อฟ้าแบบ ESE ถึงขึ้น NFPA ของอเมริกา ตั้งคณะกรรมการศึกษา ระบบล่อฟ้าแบบ ESE มาหลายปีแล้ว ตั้งแต่ปี 1990 (22 ปีมาแล้ว) และถึงขั้นมีการฟ้องร้องกันในระดับศาลด้วย
ลองอ่านใน

- ระบบ ESE แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการย่อมรับจากฝรั่งเศล โดยได้มาตราฐาน NFC-17-102

- แต่ NFPA อ้างว่า ระบบ ESE โฆษณาเกินจริง ในส่วนของการบอกว่าจะสร้างลำ streamer ขึ้นไปสูงกว่าระบบแท่งตัวนำแบบธรรมดา เพื่อไปรับประจุไฟฟ้าที่จะผ่าลงมา ซึ่งจากการทดลองแล้วนั้น ปรากฎว่า ระบบหัวล่อฟ้าแบบ ESE นั้นไม่ได้มีคุณสมบัติพเศษอย่างที่ว่าเลย

มีผู้รู้ของ วสท. ถามผมว่า ทำไมคุณถึงออกแบบระบบล่อฟ้าแบบ ESE ผมจึงอยากเรียนว่า ด้วยความสับสนว่า และความเคารพ

- แต่ทำไม ในประเทศไทยจึงเห็นมีการออกแบบระบบล่อฟ้าแบบ ESE นี้กันมาก ตามอาคารต่างๆ และทำไมถึงขออนุญาติก่อสร้างผ่าน แม้กระทั้ง สนามบินสุวรรณภูมิยังติดแบบนี้เลย

- หาก วสท. ไม่เห็นด้วยจะต้องทำอะไรสักอย่างแล้วละครับ ไม่ใช้แค่ออกมาแต่มาตราฐาน แต่ต้องให้ความเข้าใจกับวิศวกร และบังคับเป็นกฎหมายหรือข้อบังคับสำหรับเมืองไทยที่ชัดเจนมากกว่านี้ เพราะกฎหมายอาจจะอ้างอิงไปที่มาตรฐาน วสท. แต่ก็กำหนดไว้แค่อาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่ ที่ต้องติด จึงทำให้มีการหลบเลี่ยงกฎหมายได้

- ผมเป็นแค่วิศวกรตัวเล็กๆ ผมเข้าใจระบบการทำงานดี แต่เพียงลำพังก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้หรอกครับ...เพราะเขาทำกันมาอย่างนี้...ผมในฐานะผู้ออกแบบและผู้ตรวจสอบอาคารควรจะทำอย่างไรดี

- คำตอบจากท่านผู้ทรงคุณวุฒิแนะนำให้ผู้ออกแบบและติดตั้งระบบล่อฟ้าที่มีมาตรฐานสากลย่อมรับและรับรอง ส่วนเรื่องที่สงสัยว่าทำไมจึงขออนุญาตผ่าน เพราะว่าแบบระบบล่อฟ้าแต่ละโครงการมีวิศวกรเซ็นต์รับรอง นั้นคือหากระบบมีข้อบกพร่องหรือหากติดระบบทที่ไม่ได้มาตรฐานก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพทย์สินและชีวิต วิศวกรที่ออกแบบและเซ็นต์รับรองจะต้องรับผิดชอบครับ แต่หากติดตั้งระบบที่ได้มาตรฐานและถูกหลักการตามมาตรฐานที่สากลย่อมรับ แบบนี้ วสท. จะอยู่ข้างคุณ เพื่อเป็นพยานให้คุณครับ

- แม้แต่ในอเมริกาเองที่กฎหมายบอกว่าระบบ ESE ไม่ผ่านมาตรฐานของอเมริกา แต่ก็ไม่ได้บังคับให้ห้ามขาย เพราะประเทศเป็นเสรีจะขายอะไรก็ได้ แต่หากจะติดตั้งหัวล่อฟ้าแบบ ESE ก็ต้องติดตั้งตามมาตรฐาน NFPA หรือ IEC ซึ่งระยะมุมป้องกั้นต้องเท่ากับหัวล่อฟ้าแบบทั่วๆไป

ลองอ่านได้ตามบทความนี้นะครับ เข้าใจง่ายดี
https://www.google.co.th/url?sa=t&source=web&rct=j&ei=_gabU4GkMtbc8AW-iYDwAw&url=http%3A%2F%2Fweb.eng.ubu.ac.th%2F%7Eseminar%2Fresearch%2FJournal%2FPublication%2520vol%25206.2.2556%2F%25BA%25B7%25B7%25D5%25E811.pdf&cd=2&ved=0CBwQFjAB&usg=AFQjCNGO5cEz0uukf0BrYCD3xFxc_hbfSg