วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การออกแบบระบบตัวนำล่อฟ้า ตามมาตรฐาน IEC 62305-3

การออกแบบระบบตัวนำล่อฟ้า ตามมาตรฐาน IEC 62305-3

สามารถใช้ได้ 3 วิธี อย่างอิสระหรืออาจใช้ร่วมกันได้ ขึ้นอยู่กับรูปทรงของอาคารที่จะทำการป้องกัน ดังนี้

1) วิธีมุมป้องกัน (Protective angle) เป็นวิธีที่กำหนดมุมสำหรับการป้องกันไว้ แล้วซึ่งมีลักษณะพื้นที่ของการป้องกันจะเป็นรูปกรวย จะปลอดภัยจากฟ้าผ่าจากฟ้าผ่า มุมป้องกันจะแปรผันตามระดับการป้องกันและคามสูงของตัวนำล่อฟ้า วิธีมุมป้องกันนี้เหมาะที่จะใช้กับสิ่งปลูกสร้างอย่างง่ายหรือส่วนเล็กๆของสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ ตามภาพจะเป็นเหลี่ยมของตึก ซึ่งวิธีมุมป้องกันนี้จะใช้ได้กับตัวนำล่อฟ้าแบบแท่งตัวนำและแบบตัวนำขึงเท่านั้น

2) วิธีทรงกลมกลิ้ง (Rolling sphere) วิธีนี้จะใช้ทรงกลมเหมือนลูกบอลตามภาพ ซึ่งมีรัศมีตามที่กำหนดในตารางตามภาพมุมบนซ้าย (แบ่งตามระดับการป้องกันได้ 4 ระดับ)โดยจะกลิ้งไปบนส่วนของอาคาร ในการออกแบบจึงต้องติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่าชนิดที่เป็นหลักล่อฟ้าหรือสายตัวนำขึงเสียก่อนแล้วกลิ้งลูกบอล ส่วนใดของอาคารที่ผิวของลูกบอลสัมผัสจะถือว่าเป็นส่วนที่ไม่ได้รับการป้องกัน จะต้องติดตั้งตัวนำล่อฟ้าเพิ่มเข้าไป

3) วิธีตาข่าย (Mesh size) วิธีนี้เป็นการใช้ตัวนำล่อฟ้าแนวราบขึงบนส่วนของอาคารส่วนที่สูงที่สุด การติดตั้งที่ให้การป้องกันที่ดีจะต้องติดตั้งตัวนำแนวราบโดยรอบอาคารตามภาพ ซึ่งมีระยะห่างตามที่กำหนดในตารางตามภาพมุมบนซ้าย (แบ่งตามระดับการป้องกันได้ 4 ระดับ)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น