วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ระบบล่อฟ้าระหว่าง Faraday Cage กับ Early Streamer Emission (ESE) เอาแบบไหนดี

ระบบล่อฟ้าระหว่าง Faraday Cage กับ Early Streamer Emission (ESE) เอาแบบไหนดี

- กฎหมาย และ มาตราฐาน วสท. ของเมืองไทย แม้กระทั้ง มาตราฐาน นานาชาติ IEEE, NFPA, NEC, IEC, UL ต่างก็ไม่ย่อมรับระบบล่อฟ้าแบบ ESE ถึงขึ้น NFPA ของอเมริกา ตั้งคณะกรรมการศึกษา ระบบล่อฟ้าแบบ ESE มาหลายปีแล้ว ตั้งแต่ปี 1990 (22 ปีมาแล้ว) และถึงขั้นมีการฟ้องร้องกันในระดับศาลด้วย
ลองอ่านใน

- ระบบ ESE แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการย่อมรับจากฝรั่งเศล โดยได้มาตราฐาน NFC-17-102

- แต่ NFPA อ้างว่า ระบบ ESE โฆษณาเกินจริง ในส่วนของการบอกว่าจะสร้างลำ streamer ขึ้นไปสูงกว่าระบบแท่งตัวนำแบบธรรมดา เพื่อไปรับประจุไฟฟ้าที่จะผ่าลงมา ซึ่งจากการทดลองแล้วนั้น ปรากฎว่า ระบบหัวล่อฟ้าแบบ ESE นั้นไม่ได้มีคุณสมบัติพเศษอย่างที่ว่าเลย

มีผู้รู้ของ วสท. ถามผมว่า ทำไมคุณถึงออกแบบระบบล่อฟ้าแบบ ESE ผมจึงอยากเรียนว่า ด้วยความสับสนว่า และความเคารพ

- แต่ทำไม ในประเทศไทยจึงเห็นมีการออกแบบระบบล่อฟ้าแบบ ESE นี้กันมาก ตามอาคารต่างๆ และทำไมถึงขออนุญาติก่อสร้างผ่าน แม้กระทั้ง สนามบินสุวรรณภูมิยังติดแบบนี้เลย

- หาก วสท. ไม่เห็นด้วยจะต้องทำอะไรสักอย่างแล้วละครับ ไม่ใช้แค่ออกมาแต่มาตราฐาน แต่ต้องให้ความเข้าใจกับวิศวกร และบังคับเป็นกฎหมายหรือข้อบังคับสำหรับเมืองไทยที่ชัดเจนมากกว่านี้ เพราะกฎหมายอาจจะอ้างอิงไปที่มาตรฐาน วสท. แต่ก็กำหนดไว้แค่อาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่ ที่ต้องติด จึงทำให้มีการหลบเลี่ยงกฎหมายได้

- ผมเป็นแค่วิศวกรตัวเล็กๆ ผมเข้าใจระบบการทำงานดี แต่เพียงลำพังก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้หรอกครับ...เพราะเขาทำกันมาอย่างนี้...ผมในฐานะผู้ออกแบบและผู้ตรวจสอบอาคารควรจะทำอย่างไรดี

- คำตอบจากท่านผู้ทรงคุณวุฒิแนะนำให้ผู้ออกแบบและติดตั้งระบบล่อฟ้าที่มีมาตรฐานสากลย่อมรับและรับรอง ส่วนเรื่องที่สงสัยว่าทำไมจึงขออนุญาตผ่าน เพราะว่าแบบระบบล่อฟ้าแต่ละโครงการมีวิศวกรเซ็นต์รับรอง นั้นคือหากระบบมีข้อบกพร่องหรือหากติดระบบทที่ไม่ได้มาตรฐานก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพทย์สินและชีวิต วิศวกรที่ออกแบบและเซ็นต์รับรองจะต้องรับผิดชอบครับ แต่หากติดตั้งระบบที่ได้มาตรฐานและถูกหลักการตามมาตรฐานที่สากลย่อมรับ แบบนี้ วสท. จะอยู่ข้างคุณ เพื่อเป็นพยานให้คุณครับ

- แม้แต่ในอเมริกาเองที่กฎหมายบอกว่าระบบ ESE ไม่ผ่านมาตรฐานของอเมริกา แต่ก็ไม่ได้บังคับให้ห้ามขาย เพราะประเทศเป็นเสรีจะขายอะไรก็ได้ แต่หากจะติดตั้งหัวล่อฟ้าแบบ ESE ก็ต้องติดตั้งตามมาตรฐาน NFPA หรือ IEC ซึ่งระยะมุมป้องกั้นต้องเท่ากับหัวล่อฟ้าแบบทั่วๆไป

ลองอ่านได้ตามบทความนี้นะครับ เข้าใจง่ายดี
https://www.google.co.th/url?sa=t&source=web&rct=j&ei=_gabU4GkMtbc8AW-iYDwAw&url=http%3A%2F%2Fweb.eng.ubu.ac.th%2F%7Eseminar%2Fresearch%2FJournal%2FPublication%2520vol%25206.2.2556%2F%25BA%25B7%25B7%25D5%25E811.pdf&cd=2&ved=0CBwQFjAB&usg=AFQjCNGO5cEz0uukf0BrYCD3xFxc_hbfSg

3 ความคิดเห็น:

  1. เป็นบทความที่เป็นกลาง และอ่านเข้าใจในครั้งเดียว โดยไม่ต้องตีความอีก ปีนี้ 2563 ทุกอย่างยังเหมือนเดิมครับ

    ตอบลบ