วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ต้องติดตั้งกับดักเสิร์จหรือกับดักฟ้าผ่า ที่จุดใดบ้าง และต้องมีพิกัดขนาดเท่าไร ?

ต้องติดตั้งกับดักเสิร์จหรือกับดักฟ้าผ่า ที่จุดใดบ้าง และต้องมีพิกัดขนาดเท่าไร ?

การติดตั้งกับดักเสิร์จ (Lightning arrester) 

ผู้ออกแบบต้องมีการออกแบบติดตั้งกับดักเสิร์จในระบบจำหน่าย เพื่อป้องกันระบบไฟฟ้าขัดข้องและอุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหายจากแรงดันเกินเนื่องจากฟ้าผ่า โดยให้พิจารณาติดตั้งกับดักเสิร์จที่ตำแหน่งต่างๆดังนี

1) ที่จุดเปลี่ยนชนิดของสาย จากเคเบิลอากาศเป็นเคเบิลใต้ดิน ให้ติดตั้งกับดักเสิร์จที่ปลายทั้งสองข้างของเคเบิลใต้ดิน เมื่อเคเบิลใต้ดินมีความยาวมากกว่า 50 เมตร หากเคเบิลใต้ดินมีความยาวน้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 เมตร ให้ติดตั้งกับดักเสิร์จปลายสายเคเบิลใต้ดินด้านหม้อแปลงในสถานีไฟฟ้าเพียงด้านเดีย

2) ที่อุปกรณ์ไฟฟ้าในระบบจำหน่าย ได้แก่ หม้อแปลง คาปาซิเตอร์ โหลดเบรกสวิตซ์ และรีโคลสเซอร์ เป็นต้น

3) ที่ระบบจำหน่ายแรงสูงมีการก่อสร้างในบริเวณที่โล่งแจ้ง ให้ติดตั้งกับดักเสิร์จที่เสาระบบจำหน่ายทุก 200 เมตร

นอกจากนี้ผู้ออกแบบต้องพิจารณาเลือกใช้พิกัดแรงดันและพิกัด Discharge current ของกับดักเสิร์จให้เหมาะสมกับระบบจำหน่ายของ กฟภ. ที่รับไฟจากสถานีไฟฟ้าที่มีระบบการต่อลงดินแตกต่างกันดังนี้

1) กรณีที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่รับไฟจากสถานีไฟฟ้าที่มีระบบการต่อลงดินแบบ Solidly ให้ใช้กับดักเสิร์จพิกัดแรงดันเท่ากับ 20-21kV สำหรับระบบจำหน่าย 22kV และพิกัดเท่ากับ 30kV สำหรับระบบจำหน่าย 33kV สำหรับค่าพิกัด Discharge current ของกับดักเสิร์จต้องไม่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5kA ยกเว้นที่อุปกรณ์ไฟฟ้า ค่าพิกัด Discharge current ของกับดักเสิร์จต้องไม่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10kA

2) กรณีที่อยู่ในบริเวณที่รับไฟจากสถานีไฟฟ้าที่มีการต่อลงดินแบบ NGR ให้ใช้กับดักเสิร์จพิกัดแรงดันเท่ากับ 24kV สำหรับระบบจำหน่าย 22kV สำหรับค่าพิกัด Discharge current ของกับดักเสิร์จต้องไม่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5kA ยกเว้นที่อุปกรณ์ไฟฟ้า ค่าพิกัด Discharge current ของกับดักเสิร์จต้องไม่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10kA

คัดลอกมาจาก “หลักเกณฑ์การออกแบบ การติดตั้ง และการเลือกใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าในระบบไฟฟ้า” สำหรับพื้นที่เทศบาลนคร พื้นที่เมืองธุรกิจ พื้นที่เมืองสำคัญ และพื้นที่พิเศษ วันที่ 24 พ.ย.2549 ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กองมาตรฐานระบบไฟฟ้า



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น