วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558

เทคนิคการเลือกสีของหลอดให้เหมาะสมกับระดับความส่องสว่าง

เทคนิคการเลือกสีของหลอดให้เหมาะสมกับระดับความส่องสว่าง

การออกแบบไฟแสงสว่างที่สำคัญมากอันดับแรก คือ ต้องเลือกสีหลอดให้เหมาะสมกับระดับความส่องสว่าง (Illuminance –Lux หรือ ลักซ์) ถ้าเลือกสีของหลอดไม่เหมาะสมอาจจะทำให้ใช้สายตาแล้วไม่สบาย

พิจารณาจากกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิสีของหลอดและระดับความส่องสว่างสำหรับการใช้สายตานานๆ พื้นที่ในกราฟแบ่งออกเป็นสามส่วน คือ พื้นที่ส่วนจ้า ส่วนที่ทึม และส่วนที่เหมาะสม ดังแสดงในรูป
จากกราฟ ถ้าระดับความส่องสว่างที่ 100 ลักซ์ แล้วเลือกใช้หลอดไฟที่มีแสงสีขาวประมาณ 6500 เคลวิน (Day Light) เช่น หลอดฟลูออเรสเซ็นต์กลม 32 วัตต์สีขาว จะทำให้ห้องรู้สึกทึบ เป็นต้น

แต่ถ้าระดับความส่องสว่างของห้องประมาณ 500-700 ลักซ์ เช่น ห้องสำนักงาน เมื่อเลือกใช้หลอดที่มีอุหภูมิสีอยู่ประมาณ 3000 เคลวิน (Warm White) จะทำให้ห้องนั้นจะรู้สึกแสงจ้าได้

ลองพิจารณาต่อไป ในกรณีเป็นร้านอาหารหรือห้องอาหารหรูๆ ที่ต้องการความสว่างระดับต่ำประมาณแสงสว่างของเทียนไข เน้นบรรยากาศให้สลั่วๆ โดยจะมีความส่องสว่างอยู่ประมาณ 20 ลักซ์ ควรเลือกหลอดไฟพวกหลอดไว้ที่ให้อุหภูมิสีของแสงไม่ควรเกิน 2000 เคลวิน

ดังนั้นถ้าต้องการความส่องสว่าง 100 ลักซ์ ที่ใช้ในบ้านอยู่อาศัย โรงแรม เมื่อพิจารณาจากกราฟในรูป ก็ควรใช้หลอดที่มีอุหภูมิสีของแสงอยู่ที่ 2800-3000 เคลวิน ซึ่งก็คือหลอดที่ให้แสงสี Warm White นั้นเอง แต่ถ้าต้องการความสว่างประมาณ 500 ลักซ์ เมื่อพิจารณาจากกราฟแล้วก็ควรใช้หลอดที่มีอุณหภูมิสีของแสงที่ ประมาณ 4000-5500 เคลวิน ซึ่งก็คือหลอดที่ให้แสงสี Cool White หรือ Day Light ก็ยังได้

กราฟที่แสดงในรูปนี้ เป็นค่าประเมินที่ใช้กับการใช้สายตาเป้นระยะเวลานาน เช่น นั่งทำงานในสำนักงาน หรือนั่งพักผ่อนในบ้านอยู่อาศัย แต่ถ้าเป็นการให้แสงสว่างในตู้โชว์สินค้า ที่ลูกค้ามองเข้ามาใช้เวลาไม่นานก็ไม่เข้าข่ายที่ต้องใช้กราฟนี้เป็นข้อมูลในการออกแบบ และอีกประการที่สำคัญ คือ สิ่งที่กล่าวมาแต่ตันนั้น เป็นเกณฑ์ที่ใช้ทั่วไป แต่ถ้าผู้ใช้แสงสว่างคุ้นเคยกับแสงสว่างสีใดก็อาจจะใช้สีนั้นเป็นเกณฑ์ ไม่ต้องพิจารณาตามกราฟเป็นหลักเกณฑ์ในการออกแบบ (ทางเอเชียจะนิยมสีของหลอดออกไปทางแสงสีขาวมากกว่าทางยุโรปซึ่งสวนมากจะใช้แสงที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นด้วย) แต่สิ่งที่ผู้ออกแบบต้องตระหนักไว้ตลอดเวลาก็คือ การออกแบบต้องให้เหมาะสมกับผู้ใช้หรือผู้อยู่เป็นหลัก

เอกสารอ้างอิง รศ.ดร.ชำนาญ ห่อเกียรติ "เทคนิคการส่องสว่าง" สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2540



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น