ความหมายของ CWZ ของสายทนไฟ คืออะไร
ในการออกแบบวงจรไฟฟ้าที่เรียกว่า “วงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต”หรือ วงจรไฟฟ้าที่จำเป็นต้องใช้งานได้อย่างดีและต่อเนื่องในภาวะฉุกเฉิน สายไฟฟ้าของวงจรดังกล่าวจะต้องสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ ระยะหนึ่งเมื่อเกิดเพลิงไหม้
ซึ่งวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิตที่ว่านี้ ในมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ.2556
ในบทที่ 12 และบทที่ 13 ได้กล่าวถึงวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต โดยกำหนดให้อาคารดังต่อไปนี้ต้องใช้สายทนไฟในวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต คือ
1) อาคารชุด
2) อาคารสูง (คือ อาคารที่สูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป)
3) อาคารขนาดใหญ่พิเศษ (คือ อาคารที่มีขนาดพื้นที่รวมตั้งแต่ 10,000 ตร.ม ขึ้นไป)
4) อาคารเพื่อการสาธารณะใต้ดิน (เช่น ชั้นใต้ดินของอาคารทั่วไป อาคารจอดรถใต้ผิวดิน สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน อุโมงค์ใต้ดิน เป็นต้น )
โดยหากอาคารดังกล่าวมีระบบหรือวงจรไฟฟ้าดังต่อไปนี้
1. ระบบจ่ายไฟฟ้าฉุกเฉิน
2. ระบบอัดอากาศสำหรับบันไดหนีไฟ
3. ระบบดูดและระบายควันรวมทั้งระบบควบคุมการจายกระจายของไฟและควัน
4. ระบบเครื่องสูบน้ำและระบบดับเพลิงอัตโนมัติ
5. ระบบสื่อสารฉุกเฉิน
6. ระบบลิฟต์ผจญเพลิง
ซึ่งวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิตทั้ง 6 ระบบนี้ ถือเป็นระบบที่ต้องการความปลอดภัยสูงมาก ดังนั้นสายไฟฟ้าสำหรับทั้ง 6 ระบบนี้จะต้องทนไฟได้ระดับขั้นสูงสุดของมาตรฐาน BS 6387 คือระดับ CWZ
และอีก 2 ระบบที่ถือว่าเป็นวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต แต่จัดอยู่ในระบบที่ต้องการความปลอดภัยสูง คือ
1. ระบบจ่ายไฟฟ้าฉุกเฉิน
2. ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย
สายไฟฟ้าสำหรับวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิตทั้ง 2 ระบบนี้ จะต้องทนไฟได้ตามมาตรฐาน BS 6387 ในระดับชั้น AWX หรือผ่านมาจรฐาน IEC-60331 ก็เพียงพอ
--------------------------------------------------------------
สายทนไฟที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติสำคัญ 4 ประการ คือ
1. Flame Retardant คือ ไม่ลามไฟหรือต้านการลุกไหม้ สายไฟไม่เป็นเชื้อเพลิง หรือหากนำไฟออกสายไฟ ไฟจะต้องดับเองไม่ลุกลามไป
2. Acids and Corrosive Gas Emission คือ ไม่ปล่อยก๊าซกรด ปกติสายไฟจะมีฉนวนที่เป็น PVC ซึ่งผสมสารคลอรีนและสารฮาโลเจน ซึ่งเมื่อเกิดเผาไหม้จะเกิดเป็นก๊าซพิษ และหากโดนน้ำก็จะมีคุณสมบัติเป็นกรดพิษอีกด้วย
2. Smoke Emission ไม่เกิดควัน โดยสถิติแล้วคนที่เสียชีวิตจากเพลิงไหม้ เกิดจากสาเหตุการสูดควันเข้าไปในปอดแล้วเสียชีวิตเสียเป็นส่วนใหญ่
3. Fire Resistance สามารถจ่ายไฟได้ต่อเนื่องระยะหนึ่ง เมื่อมีการเกิดไฟ
--------------------------------------------------------------
โดยมาตรฐานการทนสอบสายทนไฟมีอยู่หลายมาตรฐาน พอสรุปได้ดังนี้
1. คุณสมบัติต้านการลุกไหม้ (Flame Retardant) จะอ้างอิงมาตรฐาน
- IEC 60332-1 (Test on electric and optical fiber cables under fire conditions. Part 1 : Test for vertical flame propagation for a single insulated wire or cable)
- IEC 60332-3 (Test on electric cables under fire conditions. Part 3 : Test for vertical flame spread of vertically-mounted bunched wire or cable)
*** ซึ่งคุณสมบัติใน ข้อ 1 นี้ในมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยที่กำลังจะออกใหม่ มีระบุเกี่ยวกับสายที่มี ฉนวนเป็น XLPE ไว้ว่า สามารถเดินในรางเคเบิลได้ หากสายผ่านมาตรฐานIEC 60332-3 (Category C) ***
2. คุณสมบัติต้านการปล่อยก๊าซกรด (Acids and Corrosive Gas Emission) จะอ้างอิงมาตรฐาน
- IEC 60754-2 (Test on gases evolved during combustion of electric cable. Part 2 : Determination of degree of acidity of gases evolved during the combustion of materials taken from electric cable by measuring pH and conductivity)
3. คุณสมบัติการปล่อยควัน (Smoke Emission) จะอ้างอิงมาตรฐาน
- IEC 60754-2 (Measurement of smoke density of cable burning under defined conditions. Part 2 : Test procedure and requirements)
*** ซึ่งคุณสมบัติใน ข้อ 2, ข้อ 3 นี้ก็นำมาระบุเป็นสายตัวย่อ LSHF (Low Smoke Halogen Free) นั้นเอง ***
4. คุณสมบัติต้านทานการติดไฟ (Fire Resistance ) จะอ้างอิงมาตรฐาน
- IEC 60331 (Test for electric cable under fire conditions)
การทดสอบตามมาตรฐาน IEC 60331 คือ ต้องไม่เกิดการบอกพร่องด้านระบบการจ่ายแรงดันไฟฟ้าตลอดเวลาของการทดสอบ โดยการต่อฟิวส์ 3 A ต้องไม่ขาด
- BS 6387 (Specification for Performance requirements for cables required to maintain circuit integrity under fire conditions)
การทดสอบการทนไฟตามมาตรฐาน BS 6387 จะแบ่งเป็น 3 (1.ไฟ, 2. ไฟกับน้ำ, 3. ไฟกับแรงกระแทก) มีทั้งหมดแบบ 8 ประเภท โดยมีการกำหนดเครื่องหมายด้วยตัวอักษรแบ่งตามคุณสมบัติการทนไฟ ซึ่งอุณหภูมิ และเวลาใช้ในการทดสอบมีรายละเอียดตามรูป
*** ซึ่งคุณสมบัติในข้อ 4 นี้ สายไฟจะต้องจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ตามปกติ โดยมาตรฐาน IEC 60331 จะทดสอบการจ่ายกระแสไฟตอนไฟไหม้เท่านั้น แต่มาตรฐาน BS 6387 จะมีการทดสอบการฉีดน้ำและการทดสอบแรงกระแทกร่วมด้วย จึงเป็นมาตรฐานที่นิยมในการทดสอบความต้านทานไฟไหม้ ของสายไฟฟ้าที่เป็นที่นิยม และโดยส่วนใหญ่ทางผู้ผลิตจะผลิตสายทนไฟที่มีคุณสมบัติการต้านทานไฟให้อยู่ในระดับชั้นการทดสอบที่ CWZ ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น